วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่10 : รูปแบบของคำสั่ง HTML

รูปแบบ และ คำสั่งของ HTML 

ภาษา HTML นั้นไม่ได้มีรูปแบบเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่ยากจะเข้าใจ เช่น ภาษา C, Pascal, Java เป็นต้น เพราะภาษา HTML มีรูปแบบคำสั่งง่ายๆ คล้ายกับภาษาที่ใช้กันอยู่ทั่วๆไป เป็นรูปแบบตายตัว และเข้าใจง่าย

ยกตัวชุดคำสั่งในการพิมพ์หัวข้อของ HTML
EXAMPLE:

<HTML>

<HEAD>

ชุดคำสั่งต่างๆ(สิ่งที่ต้องการจะพิมพ์ในหัวข้อเรื่อง)

</HEAD>

<BODY>

ชุดคำสั่งต่างๆ(สิ่งที่ต้องการจะพิมพ์ในหัวข้อเรื่อง)

</BODY>

</HTML>

1. จะเห็นว่าทุกคำสั่งจะมีคำสั่งเปิด <…> และคำสั่งปิด </…> เสมอ นี่เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนเว็บนั้นจะลืมไม่ได้คือ เมื่อเปิดคำสั่งแล้วต้องมีคำสั่งปิดเสมอ
2. การใช้อักษรภาษา HTML นั้นจะสามารถใช้ได้ทั้งตัวใหญ่หรือตัวเล็กก็ได้ เช่น <HTML> หรือ <html> เป็นต้น
3. การใส่รายละเอียดหรือข้อมูลต่อท้ายคำสั่งย่อยนั้นต้องมีเครื่องหมาย “....” เสมอ เช่น <body background= “green”> เป็นต้น
4. คำสั่งย่อยๆ นั้นจะอยู่ภายใน <…> ของคำสั่งหลักเสมอ เช่น <FONT size= “2”>

ใบงานที่9 : ความหมายของ HTML

ในส่วนของความหมายของ HTML 


HTML (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษามาตรฐานสากลที่ใช้นำเสนอข้อมูลแบบผสมผสานในการสื่อสารแบบ World-Wide-Web :WWW ( Web) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลก (Internet) รูปแบบหนึ่ง ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือ อื่นๆ จะถูกเชื่อมโยงเข้าหากัน ด้วยชุดคำสั่งต่างๆ เพื่อให้แสดงผลออกมาคล้ายกับ สิ่งพิมพ์ สไลด์ หรือ แบบมัลติมีเดีย ซึี่่งเป็นภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ที่มีโครงสร้างการเขียนโดยอาศัยตัวกำกับ (Tag) ควบคุมการแสดงผลข้อความ, รูปภาพ หรือวัตถุอื่นๆ ผ่านโปรแกรมเบราเซอร์ แต่ละ Tag อาจจะมีส่วนขยายที่เรียกว่า Attribute สำหรับระบุ หรือควบคุมการแสดงผล ของเว็บได้ด้วยHTML เป็นภาษาที่ถูกพัฒนาโดย World Wide Web Consortium (W3C) จากแม่แบบของภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) โดยตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย และด้วยประเด็นดังกล่าว ทำให้บริการ WWW เติบโตขยายตัวอย่างกว้างขวางตามไปด้วย Tag


วันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่7. การเขียนผังงาน ( Flowchart )

☻การเขียนผังงาน Flowchart

ในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีหลักการหรือขั้นตอนที่สาคัญทั้งหมด 5 ขั้นตอนได้แก่

1. การวิเคราะห์ปัญหา
2. การออกแบบโปรแกรม
3. การเขียนโปรแกรม
4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
5.ทำเอกสารประกอบโปรแกรม

ประเภทของผังงาน โดยทั่วไปผังงานคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่

1. ผังงานระบบ (System Flowchart)


เป็นผังงานที่แสดงถึงขั้นตอนการทางานภายในระบบหนึ่ง ๆ เพื่อให้เห็นโครงสร้างโดยภาพรวมของระบบ ซึ่งจะแสดงถึงความเกี่ยวข้องของส่วนที่สาคัญต่างๆ ในระบบนั้น เช่น เอกสารข้อมูลเบื้องต้น สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้ ข้อมูลจะส่งผ่านไปยังหน่วยงานใด มีกิจกรรมประมวลผลข้อมูลอะไรในหน่วยงานนั้น แล้วจะส่งต่อไปหน่วยงานใด เป็นต้น ดังนั้นผังงานระบบอาจเกี่ยวข้องกับข้อมูล สื่อหรือแหล่งบันทึกข้อมูล วัสดุปกรณ์ คน หรือฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละจุดจะประกอบไปด้วย
การนาข้อมูลเข้า วิธีการประมวลผล และการแสดงผลลัพธ์ (Input – Process - Output) ดังภาพ

2. ผังงานโปรแกรม (Program Flowchart) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ผังงาน


ผังงานประเภทนี้แสดงถึงขั้นตอนของคาสั่งที่ใช้ในโปรแกรม ผังงานนี้อาจสร้างจากผังงานระบบโดยผู้เขียนผังงานจะดึงเอาแต่ละจุด ที่เกี่ยวข้องกับการทางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏในผังงานระบบมาเขียน เพื่อให้ทราบว่าถ้าจะใช้คอมพิวเตอร์ทางานควรที่จะมีขั้นตอนคาสั่งอย่างไร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และจะได้นามาเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อไป
ดังนั้นการเขียนผังงานก็จะมีประโยชน์ เหมาะสาหรับผู้บริหาร ผู้วิเคราะห์ระบบ ผู้เขียนโปรแกรม และบุคคลอื่นที่ต้องการศึกษา ทาให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของระบบตั้งแต่เริ่มต้น ว่ามีการปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างไร ใช้วิธีการอะไรบ้าง สุดท้ายจะได้ผลลัพธ์อะไรบ้าง เมื่อเข้าใจระบบงานหรือสิ่งที่กาลังศึกษาก็จะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังภาพ


ใบงานที่6. การเขียนรหัสจำลอง ( Pseudo code )

การเขียนรหัสจำลอง

1.การเขียนรหัสจำลอง (Pseudo Code) คือการเขียนอัลกอริทึมโดยใช้ประโยคภาษาอังกฤษที่สื่อความ
หมายง่าย ๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้โดยทันที แต่ก็สามารถใช้รูปแบบที่เป็นภาษาพูดด้วยภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้
2.โครงสร้างของรหัสจำลองเริ่มต้นด้วยข้อความ Begin แล้วอธิบายขั้นตอนการทำงานโดยใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ในการเขียนโปรแกรม เช่น

คำสั่ง read หมายถึง การอ่านค่าหรือรับค่าข้อมูลตัวแปรตามที่กำหนดไว้

คำสั่ง print หมายถึง การแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
และพิมพ์ข้อความ End เมื่อจบการทำงาน

การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลที่จะต้องนำไปใช้ภายในโปรแกรมด้วย
การสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (= ) แทนการกำหนดค่าตัวแปร

3.ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ มี 2 ประเภท คือ ผังงานระบบ และผังงานโปรแกรม
ประโยชน์: • ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน • ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
• ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
• ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น


ใบงานที่5. Algorithm

การถ่ายทอดด้วยความคิดเห็นในการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม

1.Algorithm คือ กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถอธิบายออกมาเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน เมื่อนำเข้าอะไร แล้วจะต้องได้ผลลัพธ์เช่นไร กระบวนการนี้ประกอบด้วยจะประกอบด้วย วิธีการเป็นขั้นๆ และมีส่วนที่ต้องทำแบบวนซำอีก จนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำงาน


2.ลักษณะของ Algorithm

1. Natural Language อธิบายแบบใช้ภาษาที่เราสื่อสารกันทั่วไป

2.Pseudocode อธิบายด้วยรหัสจำลองหรือรหัสเทียม

3.Flowchart อธิบายด้วยแผนผัง

ตัวอย่างเช่น ในการวางแผนการใช้ทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร หรือ Enterprise Resource Planning ( ERP ) เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประโยชน์สูงสุด ซึ่งจำเป็นต้องวางแผนอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน จึงจำเป็นต้องอาศัย Algorithm ด้วย เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนต่างๆ และสามารถตัดทอนขั้นตอนที่เกินความจำเป็น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุง และเพิ่มเติมขั้นตอนใหม่ เข้าไปได้ ช่วยลดความสับสนขณะทำงานด้วย






วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่4 การดำเนินการแก้ปัญหา การตรวจสอบและปรับปรุง

1.การตรวจสอบและปรับปรุงโดยผู้ออกแบบ

หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการนี้ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียดของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในทุกกรณีอย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


2.การตรวจสอบโดยผู้ใช้งานจริง เช่น การที่เราผลิตสินค้าชนิดนึงออกมาตรงตามเงื่อนไขทุกประการ
จะต้องมีการทดสอบหรือการตรวจสินค้านั้นเพื่อให้มีความแน่ใจต่อการผลิตแล้วเช็คความพร้อมก่อนนำสินค้าลงสู่ตลาด

ใบงานที่3. เรื่อง การเลือกเครื่องและออกแบบขั้นตอน

1.การเลือกเครื่องมือที่ใช้แก้ในการแก้ปัญหา การกำหนดทรัพยากรที่ต้องใช้ในการแก้ปัญหา

2.การออกแบบขั้นตอนในการปฎิบัติงาน เป็นการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาก่อนปฎิบัติจริง โดยจะต้องกำหนดขั้นตอนการปฎิบััติงานเป็นลำดับสำคัญ แล้วจึงนำมาระบุผู้รับผิดชอบและระยะเวลาในการปฎิบัติงานในตารางปฎิบัติงาน

ใบงานที่2. การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา

มีวิธีการดังนี้

1.วิเคราะห์สิ่งที่ต้องการ โดยวิเคราะห์ว่าต้องการแก้ปัญหาอะไร?
ผลผลิตอะไร? หรืองานอะไร? แล้วกำหนดวัตถุประสงค์สิ่งที่ต้องการนั้น เช่น
การแก้ปัญหาการขาดทุนของร้านเช่าหนังสือ
2.วิเคราะห์ผลลัพท์ ที่ต้องการโดยวิเคราะห์สิ่งที่คาดว่าจะได้รับจากการแก้ปัญหาที่ต้องการมากกว่า1ข้อ


เช่น มีความสะดวกรวดเร็วในการเช่าหนังสือ ป้องกันไม่ให้หนังสือหาย, มีกำไรมากยิ่งขึ้น


3.วิเคราะห์ทรัพยากร โดยคำนึงถึงทรัพยากรที่นำมาใช้แก้ปัญหาซึ่งควรเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก เช่น วัสดุอุปกรณ์ ความรู้ของบุคลากร แรงงาน งบประมาณ

4.วิเคราะห์ตัวแปรผลหรือผลกระทบด้านต่างๆ เช่น ทำไมหนังสือสูยหาย หนักงานไม่มาทำงานบ่อย

5.วิเคราะห์วิธีแก้ปัญหา เช่น เก็บค่าสมาชิกสูงขึ้น โดยผ่านกระบวรการความคิดเช่น ทำได้จริงหรือไม่ จะได้ผลลัพท์ดีหรือไม่

Course Outline OT32201

http://www.acr.ac.th/acr/CourseOutline/M/Course/M5/com.pdf
                                               Course Outline OT32201
                                                           ภาคเรียนที่1 / 2560

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

My Profile

My name is Mark Metas Nickname is mark Born: 17 November 2000S16Yearsold  Complete study: at Rayongwittayakom

 Now stydy at: Assumption College rayongMy freetimes: are play fitness and swimming
and  I like a english and math(in thai ) subject
and I want to stydy at  civil aviation training centerwhen i stydy complete in assumtion
Mp parents: have 4 peoples
My movies is love: are starwars story




วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

ใบงานที่ 1 เรื่อง กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

                                                                                                      
                                                
                                            กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ความหายของกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือการตอบสนองต่อความต้องการซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากทรัพยากรให้เป็นผลผลิตหรือผลลัพท์ทางระบบเทคโนโลยี เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต  ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว.


2.ขั้นตอนกระบวนการทางเทคโนโลยี

1.การรวบรวมข้อมูล
วิธีการดำเนินการ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล และบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพื่อการประมวลผล เช่น บันทึกในแฟ้ม เอกสาร บันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ จดบันทึกไว้ในสมุด เป็นต้น
2.การตรวจสอบข้อมูล
ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลในลักษณะต่างๆ เช่น การตรวจสอบ เพื่อหาข้อผิดพลาด ความน่าเชื่อถือ ความสมเหตุสมผล เพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมและบันทึกไว้อย่างถูกต้อง
3.การประมวลผลข้อมูล
หมายถึง วิธีการดำเนินการกระทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ ข้อมูล การประมวลผลสารสนเทศข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง ที่เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่างๆหรือสิ่งที่ยอมรับว่าเป็นความจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมาน
4.การจัดเก็บข้อมูล
การเก็บรักษาข้อมูลเพื่อการบริหาร โดยเก็บไว้ในรูปแบบต่างๆ
5.การคิดวิเคราะห์
ขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อสรุปความสำคัญของข้อมูลสารสนเทศให้ตรงสภาพที่เป็นจริงตรงตามวัตถุประสงค์ก่อนที่จะนำข้อมูลมาใช้
6.การนำข้อมูลไปใช้
การนำข้อมูลไปใช้ในลักษณะต่างๆ
3.การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
            วิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิธีคล้ายกับการแก้ปัญกาทางวิศวกรรมมาก แต่ในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานใดๆ ก็ตาม จะต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและศึกษาความเป็นไปได้ให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่ใช้เครื่องมือวิเศษที่จะแก้ปัญหได้ทุกเรื่อง

  การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนด้วยวิธีการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ส่วนมากจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยเพื่อเพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถทำซ้ำได้ง่ายในกระบวนการทางเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าช่วยแก้ปัญหา จำเป็นต้องปรับรูปแบบวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ